วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒ / วันที่ ๓๑ ม.ค. ๕๕
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้วันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ นะครับ นี่คือรายการดังตฤณวิสัชนา ผมดังตฤณมาตอบคำถามให้คุณเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงครับ และอย่างที่ทราบกันแล้ว สำหรับการทักทายและไถ่ถามเข้ามาในรายการให้เข้าไปที่ http://www.facebook.com/HowfarBooks ซึ่งตอนนี้ก็มีคำทักทายและคำถามส่งกันเข้ามาบ้างแล้ว
เสียงที่คุณกำลังได้ยินนี้ จริงๆไม่สดเสียทีเดียวแบบวิทยุนะครับ แต่จะช้ากว่านิดหน่อยไม่เกิน ๑๐ วินาที เท่าที่ผมทดลองมา เรียกว่าเราก็ยังอยู่ในเวลาเดียวกันนะครับ ผมยังไม่ใช่อดีตที่หายไปแล้ว หรือว่าไปทำอย่างอื่นแล้ว
คืนนี้ผมคิดว่าน่าจะนำเพลงมาเปิดนำรายการเสียก่อน เพื่อเป็นการรอให้หลายๆคนโหลดได้เสียงแรกประมาณเดียวกันกับที่ผมเริ่มพูด ก็ถ้าหากว่าได้ยินผมพูดแล้ว ก็ช่วยบอกด้วยนะครับ
เพลงที่เปิดให้ฟังคืนนี้คือเพลง ‘พุทธคุณ’ ซึ่งเคยเปิดให้ฟังแล้วตั้งแต่ออกอากาศครั้งแรก แต่นั่นเป็นเวอร์ชันที่ ‘ปาน-ธนพร แวกประยูร’ ขับร้องนะครับ นี่เป็นอีกเวอร์ชันหนึ่ง เสียงผู้ชาย และก็ขับร้องไว้ก่อนปานประมาณ ๑๐ ปี เสียงนี้คือเสียงของ ‘คุณโยธิน พรหมดี’ ครับ
เท่าที่ผมทดลองฟังออกอากาศสดของคนอื่น แม้ว่าด้วยสัญญาณสามจี ก็ฟังได้ตลอดรายการไม่สะดุด แต่เท่าที่ฟังเสียงตอบรับมาจากจากหลายๆท่านในเมืองไทย หลายคนยังมีปัญหาเรื่องเสียงสะดุด เว้นวรรค หรือขาดหายไปเป็นช่วงๆ นั่นก็ขอให้ถือว่าเป็นข้อเสียของวิทยุออนไลน์นะครับ ส่วนข้อดีนั้นเหลือคณานับเลย คือเราฟังเกือบๆพร้อมกันได้ทั่วโลก ความรู้สึกสดและอารมณ์ร่วมจากหลายจังหวัดหรือหลายประเทศนี่ น่าจะเป็นอะไรที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ได้เหมือนกัน จริงๆแล้วถ้าพูดถึงข้อดีนั้น หลังจากรายการออกอากาศจบไปแล้ว ถ้าพอใจ ก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์เอ็มพีสามมาเก็บไว้ในเครื่องได้อีก ซึ่งใช้เวลารอเซิร์ฟเวอร์ทำไฟล์ไม่ถึงหนึ่งนาที หลังจากออกอากาศเสร็จนะครับ
๑) การที่หนูนำบทความของพี่ดังตฤณมาต่อยอด มาแต่งเป็นกลอน เพื่อมอบเป็นธรรมทานให้เพื่อนๆอ่านในเฟสบุ๊ค ถือเป็นการปฏิบัติธรรมหรือเจริญสติไปในตัวได้ไหม?
ก่อนอื่นขอให้เข้าใจเลยนะครับว่า การทำบุญมีอยู่ ๓ ระดับ
ระดับแรกคือ ‘การทำทาน’ การทำทานนี้หมายถึงการให้ การให้เปล่า การให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ การให้ด้วยความอยากที่จะให้คนอื่นเขาได้ดิบได้ดี หรือว่าได้สิ่งที่เรามีอยู่ไปเป็นประโยชน์กับเขา
ระดับที่ ๒ ของการทำบุญก็คือ ‘การรักษาศีล’ ถ้าหากว่าเราอยู่เฉยๆ ชีวิตเรียบง่ายเหลือเกินไม่มีอะไรมายั่วยุเย้าแหย่ และไม่ได้ผิดศีลเลย อันนั้นยังไม่ถือว่าถือศีลนะ ยังไม่ได้ถือว่ารักษาศีล แต่เป็นแค่ยังไม่มีอะไรมาพิสูจน์ใจ ถ้าจะถือว่ารักษาศีลหรือว่าถือศีล ต้องมีความตั้งใจไว้ก่อนล่วงหน้าว่า ‘เราจะไม่ทำบาปด้วยประการทั้งปวง’ ไม่ว่าจะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี โกหก หรือว่ากินเหล้า ยาบ้ายาอีอะไรต่างๆนะครับ ถ้าหากว่ามีเหตุยั่วยุแล้วเราไม่ประพฤติผิด ถือว่าเรารักษาศีลแล้ว
ส่วนอีกอันคือ ‘การเจริญสติหรือการบำเพ็ญภาวนา’ เพื่อที่จะทำทุกข์ทางใจให้สิ้นไปนะครับ อันนี้จะต้องดูเข้ามาที่กายใจนะ ดูเข้ามาที่กายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของที่ไม่ใช่ตัวตน คือต้องทำไว้ในใจก่อนนะว่า ‘กายนี้กับใจนี้มันไม่มีอะไรที่เที่ยง และถ้าหากมันไม่เที่ยง เราก็ไม่สมควรที่จะพิจารณาอะไรเลยว่ามันเป็นตัวเป็นตน’
ถ้าหากว่าเราไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน ไม่ได้ศึกษาไว้ก่อน มันไม่มีทางที่เราจะมองกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนขึ้นมาได้ ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน และความเข้าใจที่นำหน้านั้นเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’
เพราะฉะนั้น การที่เรานำบทความของใครมาแต่งเป็นกลอนหรือมอบเป็นธรรมทานนี่ ถือว่าเป็นการเจริญสติหรือเปล่า ต้องดูว่า ‘ขณะจิตนั้นๆเราเห็นอะไรบ้าง ในเวลาที่เรามอบของดีให้กับคนอื่น’
ถ้าหากว่าเราเห็นความรู้สึกชุ่มชื่นภายในใจของเรา แล้วความรู้สึกชุ่มชื่นนี้บางทีก็มากขึ้น ตื้นตัน ปีติ บางทีก็สว่างไสว และเดี๋ยวบางทีมันก็ค่อยๆแผ่วลงมา อ่อนลงมา หรือว่าโรยลงมา ไปคิดเรื่องอื่น เป็นความฟุ้งซ่าน เป็นความรู้สึกที่เหมือนกับโลดแล่นไปในกิเลสอื่นๆ เห็นความไม่เที่ยงของจิตตัวเองไหม? เห็นความไม่เที่ยงของความสว่างจากการให้ทานไหม? ถ้าหากว่าเห็นนั่นแหละครับเรียกว่า ‘การเจริญสติ’ แต่ลำพังการให้เฉยๆ ยังไม่เรียกว่าเป็นการเจริญสตินะครับ นั่นถือว่าเป็นการทำบุญระดับทานเท่านั้น
๒) ใครร้องเพลง ‘พุทธคุณ’?
‘คุณโยธิน พรหมดี’ ครับ ก็อยู่ในแวดวงพวกเรานี่แหละ ผมก็รู้จักน้องโยธินมาประมาณ ๑๕ ปีได้ แต่ก่อนก็เคยร่วมวงขีดเขียนกันในเว็บบอร์ดธรรมะนี่แหละครับ
๓) เวลาอยู่กับคนหมู่มาก จิตจะส่งออกนอกไปหมดเลยครับ จะรู้ตัวบ้าง แต่นานมากๆกว่าจะรู้สึกตัวได้ทีหนึ่ง หรือบางทีก็ออกจากคนกลุ่มนั้นมาแล้ว ถึงมีสติรู้สึกตัวขึ้นมาได้ ปกติแล้วเมื่อได้นั่งเฉยๆ สติจะเกิดถี่มากครับ แต่เมื่ออยู่กับคนหมู่มาก ถึงจะนั่งเฉยๆก็เหมือนเหม่อ หรือว่าหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เป็นเพราะว่ากำลังของสมถะไม่มากพอ หรือเพราะอะไรครับ ขอคำแนะนำด้วย?
การที่เราอยู่ท่ามกลางคนหมู่มากนี่นะ ขอให้คิดง่ายๆก็แล้วกันว่า เราลงไปอยู่ในคลื่นทะเลที่โยกไปโยนมา เราไม่สามารถเลี้ยงตัวอยู่ได้นิ่งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเราเป็นมือใหม่ในการฝึกว่ายน้ำ
แต่ถ้าหากว่าเรามีความนิ่ง หรือว่าตัวเราสูงพอที่จะหยัดยืนอยู่บนพื้นทรายนะครับ เราได้ที่มั่น เราได้ที่ตั้งแล้ว ถึงแม้ว่าคลื่นจะแรงสักหน่อยก็ไม่เป็นไร เราสามารถที่จะทรงตัวอยู่ได้
อันนี้ฉันใดก็ฉันนั้นครับ จิตนะครับ ถ้าหากว่าเราลองมองเป็นน้ำซักกลุ่มหนึ่ง เป็นน้ำที่อยู่ในตัวเรา แล้วไปปนกับคลื่นน้ำภายนอกที่โยกไปโยนมา เป็นกลุ่มน้ำที่แรงกว่าเรา แล้วก็มีความสั่นสะเทือนถึงเราได้ เราไม่มีเกราะ เราไม่มีความแข็งแรงพอ นี่ก็แน่นอนครับ คลื่นน้ำในเราก็ต้องโยกโยนตามไป มันเป็นไปได้ยากที่จะไม่ให้โยกโยนไปนะครับ อันนั้นแหละที่คุณพูดถึงคำว่า ‘สมถะ’
ถ้าหากว่ามีสมถะแข็งแรง หมายความว่า คลื่นจิตของเราจะมีความเสถียร มีความนิ่ง มีความสามารถที่จะดำรงคงอยู่ ทรงตัวอยู่ในภาวะที่ไม่คลอนแคลน ก็จะสามารถอยู่ท่ามกลางคลื่นรบกวนภายนอก ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางคนหมู่มากซักเท่าไร เราจะสามารถเห็นได้ว่า ‘จิตของเราไม่แปรปรวนตามคลื่นรบกวนภายนอก’
แต่ถ้าหากว่าเราจำเป็นต้องไปอยู่ท่ามกลางหมู่คนที่เค้ามีความฟุ้งซ่านมากๆ หรือมีคลื่นโทสะแรงมากๆ หรืออาจจะคุยเรื่องเพ้อเจ้อ คุยเรื่องละเม็งละคร คุยเรื่องวิจารณ์คนโน้นคนนี้ หูเรานี่ต้องได้ยินเขามา ถ้าใจเรายังไม่แข็งพอก็ยอมรับไปก่อน ยอมรับตามจริงว่าได้ยิน แล้วเกิดความรู้สึกปั่นป่วน เกิดความรู้สึกว่าฟุ้งซ่านตาม ถึงแม้ว่าใจเราจะไม่ยินดีในคำนินทาว่าร้าย ไม่ได้ยินดีในการพูดไร้สาระเพ้อเจ้อของคนอื่นๆนะครับ แต่ใจเราก็ต้องปั่นป่วนไป ถูกกระทบให้มีความฟุ้งซ่านตามไปด้วย อันนี้ต้องยอมรับตามจริงเสียก่อน เพื่ออะไร? เพื่อที่จะเห็นตามจริงว่า ‘คลื่นความปั่นป่วนของเรา ณ ขณะที่มันถูกรบกวนได้ มีความรุนแรงแค่ไหน’
ถ้าหากว่าเราสามารถตั้งต้นเห็นได้ว่า ‘ความฟุ้งซ่านของเรามีอยู่เท่าไร’ ตรงนั้นเราจะนับว่าเราไม่หลงเข้าไป ไม่จมเข้าไปในอาการฟุ้งซ่านแล้ว เปรียบเหมือนกับว่า ถ้าเราอยู่ในทะเล ทะเลตื้นๆ แต่ว่าเท้าเรายังยืนไม่ถึงพื้น เราสามารถที่จะรับรู้ได้หรือเปล่าว่าตัวเราโยกโยนไปแค่ไหน ถ้าหากว่าเราไม่รู้ เราเอาแต่ตะกายหรือพยายามที่จะหลบหนีคลื่น ก็ยิ่งไปกันใหญ่ มันก็ยิ่งมีความกระสับกระส่ายทั้งทางกายและทางใจนะครับ พูดง่ายๆว่า กระสับกระส่ายอยู่แล้ว บวกความกระสับกระส่ายอันเกิดจากความอยากจะหายกระสับกระส่ายเข้าไปอีก
ถ้าหากว่าครั้งต่อไป ทดลองดู เมื่อเราอยู่ท่ามกลางผู้คนแล้วรู้สึกมึนๆป่วนๆนะครับ เพราะว่ามันแตกต่างจากตอนที่เราอยู่คนเดียวนิ่งๆ ให้ยอมรับตามจริงว่า ตอนนี้เราปั่นป่วนอยู่
เมื่อยอมรับตามจริงว่าปั่นป่วนอยู่ ลองหายใจทีหนึ่งนะครับ หายใจทีหนึ่งครั้งนั้นด้วยความยอมรับว่ามีความปั่นป่วนอยู่ในหัว มีความรวนเร มีความกระอักกระอ่วนอึดอัดอยู่ในอก
แล้วต่อมาลมหายใจนั้นหายไปแล้ว หายใจเฮือกต่อมา หายใจตามสบายตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่ไปเร่งลมหายใจ เรียกลมหายใจเข้ามา เอาตามจังหวะของร่างกาย ตามธรรมชาติธรรมดาของร่างกายว่า ‘ต้องการลมหายใจครั้งต่อไปเมื่อไร เราก็ค่อยหายใจเข้ามาเมื่อนั้น’ หายใจครั้งที่สองนี่สังเกตดูว่า ‘คลื่นความปั่นป่วนคลื่นความฟุ้งซ่านนี่ยังเท่าเดิมกับลมหายใจเมื่อครู่นี้หรือเปล่า’
ถ้าหากว่าเราใช้ลมหายใจเป็นตัวแบ่ง เป็นจุดสังเกตนะครับว่า ขณะเมื่อครู่ที่ผ่านมากับขณะนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไรในความฟุ้งซ่าน คุณจะเห็นว่า ครั้งแรกมีความมึนมาก มีความรู้สึกเบลอๆ มีความรู้สึกเหมือนกับปั่นป่วน ค่อนข้างจะรุนแรง แต่หายใจครั้งที่สองนี่ ตอนนี้มันมีสติขึ้นมาแล้ว สตินี่แหละครับ จะทำให้คลื่นความปั่นป่วนลดลงตามธรรมชาติ
และสตินี่แหละ มันก็จะเห็นว่า จิตของเราเองมีความปั่นป่วนน้อยลง มีความมัวหมองน้อยลง มีความตามคลื่นของคนอื่นที่เค้ากำลังซัดแรงน้อยลง ตัวเห็นน้อยลงนี่แหละ ที่เขาเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง’ เห็นความไม่เที่ยงแบบอ่อนๆ
ถ้าหากว่าเรายังไม่หยุดนะครับ ลมหายใจเข้าครั้งต่อไป เอาตามธรรมชาตินะ อย่าไปเร่งนะ อันนี้สำคัญมากเลยนะครับ เอาลมหายใจที่เกิดขึ้นนะ เข้าแล้วก็ออกตามธรรมดา ตามธรรมชาติปกตินี่แหละ เป็นตัวแบ่ง เป็นจุดสังเกตว่าคลื่นความฟุ้งซ่าน คลื่นความปั่นป่วนเรรวนในตัวเรานี่มีเท่าเดิมหรือเปล่า มันเข้มขึ้นหรือว่าอ่อนแรงลงนะครับ ถ้าหากว่าเราเห็นความไม่เที่ยงไปเรื่อยๆถึงจุดหนึ่งนะ คุณจะรู้สึกว่าตัวเราหายไป มีแต่คลื่นความปั่นป่วน มีแต่คลื่นความฟุ้งซ่านอันเกิดจากคลื่นกระแทกภายนอกมารบกวน จากนั้นคุณจะรู้สึกถึงสติที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จิตมีความตั้งมั่น มั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ ทรงตัวได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงจุดนั้น คุณจะมีความรู้สึกว่า คลื่นความปั่นป่วนภายในของเราหายไป เหมือนกับว่ามีเกราะ มีกำบัง มีสุญญากาศระหว่างเรากับโลกภายนอก ถึงแม้ว่าเรายังสามารถรับรู้ได้ว่าโลกภายนอกเต็มไปด้วยความปั่นป่วนไม่ต่างไปจากเดิมแม้แต่น้อย แต่ว่า ‘ใจของเรา’ เริ่มมีสุญญากาศจากมันแล้วนะครับ ลองไปทำดู
๔) ฟุ้งซ่าน เจริญสติไม่ได้เลย สติหายไปเป็นวันๆ ขอเคล็ดลับ?
ฟุ้งซ่านนี่นะครับ ไม่ใช่เราจะมีอุบายวิธีอะไรอย่างหนึ่งไประงับได้ง่ายๆ เพราะว่าถ้าต้นเหตุยังคงมีอยู่ ยังมีแหล่งกำเนิดความฟุ้งซ่านอยู่ โอกาสที่เราจะไปดับความฟุ้งซ่านด้วยวิธีใดๆ เป็นไปได้ยาก เปรียบเหมือนกับมีพัดลมที่คอยเป่ากระดาษเป่านุ่นให้ฟุ้งกระจายเต็มห้อง เราจะมาเก็บนุ่นเก็บกระดาษให้เข้าที่เข้าทางไปเดี๋ยวก็โดนพัดลมเป่าอีกนะครับ
ทางที่ถูกคือ เราต้องกันตัวเองออกมาจากพัดลมเสีย หรือว่าหรี่พัดลมลงเสีย หรือไม่ก็ปิดพัดลม ถ้าปิดได้ ก็ปิดเสีย
สังเกตง่ายๆก็แล้วกัน ตอนตื่นเช้าขึ้นมาเราจะฟุ้งซ่านจากความฝันที่เพิ่งผ่านมานะครับ จากนั้นความฝันจะต่อยอดไปเป็นความจริง ความจริงที่เรากำลังอยากที่จะได้อะไรในวันนั้น แล้วมีอะไรที่ยังคาใจเป็นความโลภ ความโกรธหรือความหลงนะครับ ถ้าหากว่าสามารถเห็นได้ถึงต้นตอของความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นจากกิเลส เราก็จะสามารถที่จะลดกิเลสนั้นลงได้ทันที
จำไว้เป็นหลักเลยนะครับ คุณเห็นกิเลสอะไร กิเลสตัวนั้นจะอ่อนกำลังลง ณ เวลานั้น ถ้าหากว่าคุณเห็นกิเลสบ่อยๆ มันก็จะอ่อนกำลังลงบ่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดนี่อ่อนกำลังลงมากเกินกว่าที่จะผลิตความฟุ้งซ่านขึ้นมาได้ อันนี้ก็เป็นอีกเคล็ดวิธีหนึ่ง นำไปทดลองทำดูนะครับ เป็นการต่อสู้กับความฟุ้งซ่านตรงๆที่ต้นเหตุครับ
๕) ทำอย่างไรจะรู้ตัวว่าเหงา? ความเหงาช่วยฝึกสติได้ไหม หมายถึงนำความเหงามาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเจริญสติได้ไหม?
ที่จะรู้ตัวว่าเหงา เป็นคนขี้เหงาหรือเปล่านี่นะครับ ถ้าสังเกตจากทางกายแบบง่ายๆเลยคือ ‘จะตัวงอบ่อยๆ’ ลองสังเกตดู คนขี้เหงาจะไม่ค่อยนั่งตัวตรง จะไม่ค่อยนั่งอย่างมีสติเท่าไหร่ จะนั่งด้วยแรงกดของความเหงา แล้วความเหงานี่มีน้ำหนักนะ ทำให้เราซึมๆ เหมือนกับอยากก้มหน้าก้มตามากกว่าที่จะเงยหน้า อยากที่จะงอตัวมากกว่าที่จะนั่งตัวตรงนะครับ
เมื่อกี้พูดถึงรูปธรรมที่เป็นภายนอก คราวนี้มาพูดถึงนามธรรมที่เป็นภายใน ความรู้สึกของคนขี้เหงานี่นะครับ จะมีอาการห่อเหี่ยวบ่อย พูดง่ายๆว่า จิตใจโน้มเอียงไปทางหดหู่ ทั้งๆที่ไม่มีอะไรบีบให้ต้องหดหู่นะครับ อย่างสมมติว่า ถ้าเรามีบุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิตไป อันนั้นสมควรที่จะหดหู่นะ สำหรับปุถุชนธรรมดาที่ยังมีกิเลสอยู่ มันมีเหตุบีบให้หดหู่ แต่คนขี้เหงานี่ไม่ต้องมีเหตุภายนอกมาบีบ ก็สามารถที่จะบีบตัวเองให้เข้าสู่อาการหดหู่ได้ ก็ลองสังเกตแล้วกัน ใจที่หดหู่นี่จะเซื่องซึม ไม่อยากทำอะไร จะรู้สึกเปลี่ยว จะรู้สึกเดียวดาย รู้สึกเหมือนกับว่าทั้งจักรวาลนี้มีเราอยู่คนเดียว ถึงแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงมากมายแค่ไหน หรือกระทั่งว่าเราแกล้งหัวเราะ แกล้งยิ้ม แกล้งทำหน้าตาดีๆยังไงก็แล้วแต่ แต่ข้างในใจ ยังไม่หายห่อเหี่ยว ยังไม่หายหดหู่นะครับ
วิธีที่จะฝึกเจริญสติเห็นความเหงา หรือว่าต่อสู้กับความเหงา มันไม่ได้มีตัวที่เป็นเคล็ดวิธีกำจัดความเหงาโดยเฉพาะ แต่เป็นเคล็ดวิธีแบบครอบจักรวาลที่จะป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ให้เกิดช่องว่างของช่องเว้นวรรคของสติ ไม่ให้เกิดเป็นช่องโหว่ที่จะทำให้ข้าศึกโจมตีเราได้ นั่นก็คือ ‘เราจะต้องมีสติอยู่กับอารมณ์ที่ไม่เป็นโทษ’
อารมณ์ที่เป็นคุณ ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำอย่างที่สุดเลยก็คือ ให้ใช้ลมหายใจ แต่ไม่ใช่ไปเพ่งเอาลมหายใจนะ แค่ระลึกเอา ระลึกว่า ‘ในขณะนี้เรากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่’
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับการอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องตั้งของสติ ก็ขอให้คิดถามตัวเองง่ายๆว่า ‘ขณะนี้เราหายใจเข้าหรือหายใจออก?’ ถามนี่ไม่ใช่จะเอาสมาธิ ไม่ใช่ว่าจะบีบให้ตัวเองหยุดฟุ้งซ่าน แล้วก็ไม่ใช่จะตั้งใจว่าจะเอาสมาธิฌานญาณอะไร แต่ถามเพื่อเอาความรับรู้เข้ามาในปัจจุบันนะครับ ดึงตัวเองกลับเข้ามาสู่ความเป็นปัจจุบันว่า ‘ในขณะนี้มีลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออกให้ดู’ ถามตัวเองครั้งเดียวพอ รู้ครั้งเดียวพอ แต่ถามให้บ่อยๆ รู้ให้บ่อยๆ ไม่ต้องต่อเนื่องนะครับ แต่ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้
เมื่อบ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้แล้วเกิดอะไรขึ้น? คุณจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่า ตัวเองนี่นะ ใจตัวเองมีลมหายใจเป็นเพื่อน แต่เดิมใจไม่มีอะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวเลย เหมือนกับไม่มีเพื่อน เหมือนกับไม่มีใคร แล้วก็คิดไปต่างๆนานา คิดไปถึงภาวะความเปล่าเปลี่ยว แล้วก็ภาวะอยู่คนเดียว ภาวะที่ไม่น่าอภิรมย์นักสำหรับชาวโลกทั่วไป
แต่ถ้าหากคุณถามตัวเองได้บ่อยๆว่า ‘กำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก?’ แล้วสังเกตด้วยว่า ‘หายใจเข้าและหายใจออกนั้น บางทีมันก็สั้น บางทีมันก็ยาว’ เท่านี้ เพียงเท่านี้นั้นง่ายๆแต่ได้ผล ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีเพื่อน ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีหลักให้ยึดเกาะ ตอนแรกๆที่ทำจะไม่เห็นผลหรอก แต่พอทำไปเรื่อยๆ ทำไปบ่อยๆ จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เออ แทนที่เราจะเสียเวลาไปเหงา เราเอาเวลามาสังเกตว่า ขณะนี้หายใจเข้าหรือหายใจออก หายใจสั้นหรือหายใจยาว มันได้ประโยชน์ ได้ความสดชื่นจากลมหายใจ ได้ความรู้สึกว่าเรามีอะไรทำ ได้ความรู้สึกว่า ‘อ้อ!’ เนี่ย
จุดสังเกตที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ‘อะไรๆมันไม่เที่ยง’ ดูได้จากลมหายใจของเราที่เข้าออกตลอด ๒๔ ชั่วโมงนี่เอง มันปรากฏอยู่ตลอดเวลานะครับ เดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็ออก เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็สั้น
ถ้าหากว่าเรารู้ไปเรื่อยๆ ภาวะทางใจของเราจะปฏิวัติตัวเอง ปฏิรูปตัวเอง เปลี่ยนจากภาวะที่หดหู่เองได้ บีบคั้นตัวเองให้เข้าสู่ความเหงาเองได้ มาเป็นมีความรู้สึกเหมือนเบิกบาน มีความรู้สึกเหมือนสดชื่น มีความรู้สึกเหมือนตื่น มีความรู้สึกเหมือนสามารถรับรู้อะไรๆก็ได้ โดยไม่ปล่อยให้สูญเปล่านะครับ คิดว่าน่าจะนำไปลองทำดู แล้วได้ผลยังไงก็ลองถามกลับมาอีกทีก็ได้นะครับ
บางคนรายงานมา ‘ทำไมคอมที่บ้านวันนี้ สัญญาณขาดๆหายๆบ่อยจัง?’ เมื่อช่วงค่ำนี้ พี่ก็ลองดูว่าสัญญาณสามจีนี่รับได้นานแค่ไหน ก็ตลอดครึ่งชั่วโมง ทดลองฟังของคนอื่นที่เขาออกอากาศสด ก็ใช้ได้นะ มันคงเป็นที่ค่ายด้วยมั้ง ช่วงนี้ก็มีคนบ่นนะ บางค่ายนี่คืออินเตอร์เน็ตอาจไม่ค่อยดีเท่าไร ก็ลองถามๆกันดูเองก็แล้วกันนะครับว่า ค่ายไหนที่มีความเสถียร ค่ายไหนที่อาจจะพร่องๆไปบ้าง
เอาล่ะ เหลือเวลาอีกครึ่งนาที ก็คงต้องล่ำลากันที่ตรงนี้นะครับ แล้วเดี๋ยวเราพบกันใหม่ ขอดูอีกทีพรุ่งนี้อาจจะไม่ได้ แต่คืนต่อๆไป เดี๋ยวก็กลับมาพบกันใหม่ คืนนี้ราตรีสวัสดิ์ครับ ขอบคุณมากที่ติดตามฟังกันนะครับ
« กลับสู่สารบัญเรียงตามครั้งที่ออกอากาศ
สารบัญเรียงตามครั้งที่ออกอากาศ
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ออกอากาศครั้งแรก / วันที่ ๓๐ ม.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑ / วันที่ ๓๐ ม.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒ / วันที่ ๓๑ ม.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓ / วันที่ ๒ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔ / วันที่ ๓ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕ / วันที่ ๔ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖ / วันที่ ๕ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗ / วันที่ ๖ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘ / วันที่ ๗ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙ / วันที่ ๘ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐ / วันที่ ๙ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑ / วันที่ ๑๓ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒ / วันที่ ๑๕ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๓ / วันที่ ๑๗ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๔ / วันที่ ๒๐ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๕ / วันที่ ๒๒ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๖ / วันที่ ๒๔ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๗ / วันที่ ๒๗ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๘ / วันที่ ๒๙ ก.พ. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๙ / วันที่ ๒ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๐ / วันที่ ๕ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๑ / วันที่ ๗ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๒ / วันที่ ๙ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๓ / วันที่ ๑๒ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๔ / วันที่ ๑๔ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๕ / วันที่ ๑๖ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๖ / วันที่ ๑๙ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๗ / วันที่ ๒๑ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๘ / วันที่ ๒๔ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๒๙ / วันที่ ๒๖ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๐ / วันที่ ๒๘ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๑ / วันที่ ๓๐ มี.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๒ / วันที่ ๒ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๓ / วันที่ ๔ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๔ / วันที่ ๖ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๕ / วันที่ ๙ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๖ / วันที่ ๑๑ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๗ / วันที่ ๑๓ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๘ / วันที่ ๑๖ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๓๙ / วันที่ ๑๘ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๐ / วันที่ ๒๐ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๑ / วันที่ ๒๓ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๒ / วันที่ ๒๕ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๓ / วันที่ ๒๗ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๔ / วันที่ ๓๐ เม.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๕ / วันที่ ๒ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๖ / วันที่ ๔ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๗ / วันที่ ๗ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๘ / วันที่ ๙ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๔๙ / วันที่ ๑๑ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๐ / วันที่ ๑๔ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๑ / วันที่ ๑๖ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๒ / วันที่ ๑๘ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๓ / วันที่ ๒๑ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๔ / วันที่ ๒๓ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๕ / วันที่ ๒๕ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๖ / วันที่ ๒๘ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๗ / วันที่ ๓๐ พ.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๘ / วันที่ ๑ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๕๙ / วันที่ ๔ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๐ / วันที่ ๖ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๑ / วันที่ ๘ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๒ / วันที่ ๑๑ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๓ / วันที่ ๑๓ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๔ / วันที่ ๑๕ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๕ / วันที่ ๑๘ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๖ / วันที่ ๒๐ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๗ / วันที่ ๒๒ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๘ / วันที่ ๒๕ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๖๙ / วันที่ ๒๗ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๐ / วันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๑ / วันที่ ๒ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๒ / วันที่ ๔ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๓ / วันที่ ๖ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๔ / วันที่ ๙ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๕ / วันที่ ๑๑ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๖ / วันที่ ๑๓ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๗ / วันที่ ๑๖ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๘ / วันที่ ๑๘ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๗๙ / วันที่ ๒๐ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๐ / วันที่ ๒๓ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๑ / วันที่ ๒๕ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๒ / วันที่ ๒๗ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๓ / วันที่ ๒๙ ก.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๔ / วันที่ ๑ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๕ / วันที่ ๓ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๖ / วันที่ ๖ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๗ / วันที่ ๘ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๘ / วันที่ ๑๐ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๘๙ / วันที่ ๑๓ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๐ / วันที่ ๑๕ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๑ / วันที่ ๑๗ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๒ / วันที่ ๒๐ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๓ / วันที่ ๒๒ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๔ / วันที่ ๒๔ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๕ / วันที่ ๒๗ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๖ / วันที่ ๒๙ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๗ / วันที่ ๓๑ ส.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๘ / วันที่ ๓ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๙๙ / วันที่ ๕ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๐ / วันที่ ๗ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๑ / วันที่ ๑๑ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๒ / วันที่ ๑๒ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๓ / วันที่ ๑๔ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๔ / วันที่ ๑๗ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๕ / วันที่ ๑๙ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๖ / วันที่ ๒๑ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๗ / วันที่ ๒๖ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๘ / วันที่ ๒๘ ก.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๐๙ / วันที่ ๑ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๐ / วันที่ ๓ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๑ / วันที่ ๕ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๒ / วันที่ ๘ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๓ / วันที่ ๑๐ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๔ / วันที่ ๑๒ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๕ / วันที่ ๑๕ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๖ / วันที่ ๑๗ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๗ / วันที่ ๑๙ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๘ / วันที่ ๒๒ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๙ / วันที่ ๒๔ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒๐ / วันที่ ๒๖ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒๑ / วันที่ ๒๙ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒๒ / วันที่ ๓๑ ต.ค. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒๓ / วันที่ ๒ พ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน]
- ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๒๔ / วันที่ ๕ พ.ย. ๕๕ [ฟัง] [อ่าน] (จบ)
ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑ / วันที่ ๓๐ ม.ค. ๕๕
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ นะครับ นี่คือรายการดังตฤณวิสัชนา ผมดังตฤณมาตอบคำถามให้คุณเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงนะครับ ตามกำหนดที่ทางเจ้าภาพคือ http://www.spreaker.com ให้ไว้ครับ รายการนี้ยังอยู่ในช่วงของการทดลองออนแอร์ เพื่อตอบคำถามนะครับ
จริงๆผมเตรียมอะไรไว้ให้คุณๆฟังอีกหลายอย่าง อย่างเช่นละครวิทยุที่กำลังจะมีแน่ๆเร็วๆนี้ ตลอดจนเกร็ดวิธีการเจริญสติในเมืองนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้รายการที่มีกำหนดออนแอร์เนี่ยนะครับ ได้มีความสม่ำเสมอ แล้วก็มีความหลากหลาย มีสีสันมากกว่าการถามตอบอย่างเดียวนะครับ
อย่างที่ทราบว่า ท่านที่ต้องการทักทาย หรือไถ่ถามกันเข้ามาในรายการนะครับ ต้องมีเฟสบุ๊ค แล้วก็ไปที่หน้าวอลล์ของผมที่ http://www.facebook.com/HowfarBooks นะครับ ผมคงอ่านคำถามที่อื่นพร้อมกันไม่ได้ ก็ขออ่านจากที่นี่ที่เดียวก็แล้วกันนะครับ ออกตัวไว้ล่วงหน้าว่า คงอ่านคำถามของทุกคนไม่ได้
กติกามีนิดเดียวคือ คำถาม ขอเป็นสั้นๆ นึกถึงตอนคุยกันในทวิตเตอร์นั่นแหละนะครับ
ประเด็นที่เราจะคุยกัน ก็อย่างที่เห็นในงานของผม ทั้งเกี่ยวกับความรัก กรรมวิบาก และก็การเจริญสตินะครับ
หากผมข้ามคำถามใดไป ก็ต้องกราบขออภัยด้วยนะครับ บางครั้งอาจจะเป็นเพราะว่าผมลายตา หรือบางครั้งอาจจะเป็นคำถามที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลาคิดนะครับ ถ้าผมคิดได้แล้ว อาจจะกลับมาตอบอีกที ฉะนั้นคนถามก่อน อาจได้รับคำตอบทีหลังนะครับ ก็อย่าเพิ่งน้อยใจ เพราะนั่นหมายความว่าผมคิดดีแล้วนะครับ
ทุกท่านที่ทักทายสวัสดีกันเข้ามานะครับ ผมทักทายสวัสดีตอบแล้วด้วยใจนะครับ ถ้าผมอ่านชื่อภาษาอังกฤษของใครผิดพลาด หรือจำไม่ได้ว่าเคยทักทายกันเมื่อไหร่ ก็ขอโทษอย่างยิ่งเช่นกัน โอเคนะครับ ก็มีเสียงยืนยันมาว่าได้ยินกันเป็นที่เรียบร้อยนะครับ
๑) คิดมากจนปวดท้ายทอย ขอคำแนะนำ?
อาการคิดมากเนี่ยนะครับ จริงๆแล้ว เป็นกันทุกคนในเมืองหลวงนั่นแหละนะครับ ช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนี่ย เวลาที่เราต้องเครียดกับการทำงานไม่พอ ยังต้องไปเดินทาง วันละ… บางคนเนี่ย ๖ ชั่วโมงนะครับ เดินทาง ๖ ชั่วโมงก็มี
การที่เราสามารถจะมองออกว่า ‘ตอนที่เริ่มเครียด มันเริ่มมาจากตรงไหน?’ นะครับ จากตรงที่ทำงาน หรือว่าจากตรงที่ต้องเดินทาง ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะ ‘เห็นช่วงที่มันกำลังก่อตัวขึ้นมา’ นะครับ ไอ้ความเครียด ความคิดมากอะไรก็แล้วแต่เนี่ย มันจะลดลงทันทีนะครับ
และถ้าหากว่า ‘เคยชิน’ ที่จะ ‘เห็น’ อาการคิดมาก ไม่ว่าจะในขณะเดินทาง หรือว่าในขณะทำงาน จนกระทั่งเกิดความรู้สึกเหมือนกับว่า ‘รู้’ มากกว่า ‘คิด’ ตรงนั้น อาการปวดท้ายทอยจะหายไป
ฟังดีๆนะครับ คือปกติเนี่ยเวลาเราคิดอะไรมาก เครียดเรื่องอะไรมากเนี่ย ใจเราเนี่ยจะเล็งไปที่ ‘เรื่อง’ ที่ทำให้เราเครียด แต่ถ้าหากว่าเรามีความ ‘รู้ตัว’ ‘มีสติ’ พอที่จะเห็นว่าขณะนั้นมันเริ่มมี ‘อาการ’ คิดมาก มันเริ่มมีอาการเครียด ใจเราจะไม่คิดถึง ‘เรื่อง’ ที่ทำให้เครียด แต่จะระลึกถึงไอ้สิ่งที่มันเป็น ‘อาการ’ เครียดในขณะนั้น
ไม่ว่าจะแน่นที่หน้าอก ไม่ว่าจะแน่นที่หัวคิ้ว ไม่ว่าจะตึงที่ขมับ ไม่ว่าจะตึงที่ไหนก็แล้วแต่ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ขอให้ ‘รู้’ ไปตามจริงนะครับ
ทุกครั้งที่เรารู้ตามจริงว่า เกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย จะมี ‘สภาพของสติ’ ปรากฏขึ้นมา เป็นความรู้สึกสบายขึ้น
สตินะครับ มากับความรู้สึกสบายขึ้นเสมอนะครับ ขอให้เป็นสติจริงๆเถอะ
แล้วถ้าหากว่าเรา ‘เคยชิน’ ที่จะ ‘มีสติ’ รู้อาการเครียดมากขึ้นๆๆ จนกระทั่ง ‘รู้มากกว่าคิด’ อาการปวดท้ายทอยเนี่ย มันจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดนะครับ
ก็ลองไปทดลองดูก็แล้วกัน
๒) ทำอย่างไรถึงจะมีสติ?
(ตอนนี้กลายเป็นลานดาวภาคร้าย จำไม่ได้แล้วว่า ลานดาวทำยังไงถึงมีสติ แล้วกลับมาเป็นคนดี ก็ขอคำแนะนำด้วยก็แล้วกันนะครับว่า จะมาเป็นลานดาวภาคดีได้ยังไง?)
จริงๆแล้ว ไม่ต้องทำอะไรมากไปกว่าที่เราจะ ‘นึกขึ้นมาได้’ หรอกนะครับ
คนเรานะครับ ถ้าหากว่าได้ศึกษาธรรมะมามากแล้ว แล้วก็ได้เจริญสติมาบ้างแล้ว ได้ทำสมาธิมาบ้างแล้วเนี่ย ถ้าแค่ ‘รู้สึกตัว’ ว่ากำลังแย่อยู่ ธรรมะที่มีอยู่เป็นทุนนั่นน่ะ มันจะมีความสว่างขึ้นมา มันจะเบ่งบานขึ้นมา แล้วทำให้อาการร้ายๆ หรือว่าอาการแย่ๆเนี่ย มันเหมือนกับมีคู่ต่อสู้… (เสียงขาดหายไป)
« กลับสู่สารบัญเรียงตามครั้งที่ออกอากาศ
๑.๑๖๒ ตาเห็นอากาศเป็นเม็ดละเอียด
ถาม : ตาของหนูมันเห็นอากาศเป็นเม็ดละเอียดไหลผ่าน เอาตาไปจดจ้องอยู่บ่อยๆ แต่ก็นึกได้ว่าไม่อยากเห็นอะไร เดี๋ยวมันจะประกอบเป็นรูปอะไรที่เราไม่อยากเห็น มันเป็นเม็ดละเอียดเหมือนฝุ่นบางเบา คือยืนว่างๆแล้วมันเห็นทั้งในตึก ทั้งกลางแจ้งจะชอบไปจดจ้องดู บางครั้งต้องสลัด
รับฟังทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=XXxz2mdxfG0
เอาล่ะ จะเห็นอย่างไรนะก็ไม่สำคัญเท่ากับที่ว่า เรามีความรู้รึเปล่าว่าไอ้สิ่งที่เห็นนั้นมันค่อยๆต่างไป ตรงนี้สำคัญ เพราะถ้าหากว่าเรามัวแต่ไปกำหนดจดจ้องนะ ว่าเอ๊ะนี่มันติดใจ เอ๊ะนี่มันเป็นเรื่องไม่ดีเรื่องไม่ถูกต้องรึเปล่า มันก็กลายเป็นการไปห้ามใจ ทั้งๆที่ตัวเองยังมีความอยากจะจดจ้องอยู่ ไปฝืนใจตัวเองเปล่าๆ
เอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ ไม่ต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับตนเองว่า เห็นอย่างไรกลัวจะติดใจ หรือว่าเห็นอย่างไรแล้วมันถูกมันผิดอย่างไร แต่เอาเป็นว่าเห็นอย่างไร แล้วอะไรอย่างนั้น มันแสดงความไม่เที่ยงให้ดูได้มั้ย อย่างเช่นพอเห็นว่ามันมีอะไรไหลผ่านนะครับ เป็นเม็ดละเอียดเล็กๆน่าพอใจ เราก็เห็นความพอใจนั้นเกิดขึ้นนะ แล้วก็เห็นว่าอะไรที่มันไหลไปเนี่ย เดี๋ยวมันก็ปฏิรูปเป็นอื่นไป อะไรที่มันเป็นเม็ดๆ เดี๋ยวมันก็กลายเป็นโปร่งๆไป อะไรที่มันหยาบๆเดี๋ยวมันก็กลายเป็นละเอียด
เนี่ยเห็นอยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ในลักษณะที่มันไม่เหมือนเดิม แล้วก็รู้สึกถึงความไม่เที่ยง รู้สึกถึงความพอใจหรือไม่พอใจ แค่นี้นะในที่สุดแล้ว มันก็จะกลายเป็นความวางเฉยในแบบที่รู้นะครับ ว่าสิ่งทั้งหลายที่เราเห็น สิ่งทั้งหลายที่เราพอใจแม้แต่ตัวความพอใจเองก็ตามเนี่ย มันแปรสภาพไปเรื่อยๆ ตรงนี้ที่เป็นประโยชน์ที่มันเกิดขึ้นนะ
ไม่ใช่ว่าพอเราถอนความติดใจออกมาด้วยความจงใจแล้วเนี่ย มันจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะว่าบางครั้งมันสวนมันขัดแย้งกับความรู้สึกที่แท้จริงของเรานะครับ
๑.๑๕๗ ห่างการภาวนานาน แต่อยากเริ่มใหม่
วิธีที่จะก้าวออกจากก้าวแรกได้ง่ายที่สุดนะ ก็ทำตามคำพระพุทธเจ้านั่นแหละนะ สังเกตอยู่ว่า ขณะนี้เราหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่ หายใจยาวหรือหายใจสั้นอยู่ จนกระทั่งมันเกิดการรับรู้ขึ้นมาว่า เออ ไอ้ที่หายใจอยู่นี่นะ มันเป็นลมหายใจ มันเป็นลักษณะของธรรมชาติที่มีอาการพัดเข้าแล้วก็พัดออก ส่วนจิตนี่ของเราที่มันรู้ มันดูอยู่ นี่เป็นต่างหากนะ ถ้าหากว่าถึงความรับรู้ตรงนั้นได้นี่ ตรงนี้แหละมันต่อติดแล้ว นี่เขาเรียกว่านับหนึ่งใหม่จริงๆนะ นับหนึ่งใหม่ตรงที่หายใจเข้า หายใจออกอย่างธรรมดานี่ แล้วก็มีสติรู้ว่า กำลังนี่เป็นอย่างนี้อยู่นะ อาการพัดเข้าเป็นอย่างนี้ อาการพัดออกเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็สั้น นี่มันเริ่มเหมือนกับเด็กประถมทั่วไป เริ่มเหมือนกับเด็กอนุบาลทางวิปัสสนาทั่วไป
แต่ว่าพอจิตมันเข้าถึงการรับรู้ว่า เออ ตัวของมันเองนี่มีหน้าที่รับรู้อยู่ มีหน้าที่ดูอยู่ เป็นผู้รู้ เป็นผู้ดูอยู่ ไม่ใช่เป็นลมหายใจเสียเอง นี่ตัวนี้นะมันจะต่อติด มันจะเห็นว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ เออ อิริยาบถนั่งลักษณะมันเป็นอย่างไร มันมีความรู้สึกเหมือนหลังตรงนะ คอตั้งนะ แล้วก็ในอาการหลังตรง คอตั้งอยู่นี่ รู้สึกว่ามันมีความโปร่ง มันมีความเบา หรือว่ามันมีความทึบ นี่มันจะรู้ทาง แล้วพอรู้ทางนี่นะ มันก็จะสังเกตออกว่า ลักษณะความรู้สึกโปร่ง ลักษณะความรู้สึกทึบแน่น หรือว่าจะมีความสุขมาก จะมีความสุขน้อย อย่างไรก็ตามนี่ มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่ตัวนี้นี่นะ ถ้าเริ่มติด สตาร์ทติดแล้ว แค่ห้านาทีนี่บางทีมันก้าวพรวดเลยนะ แซงจากที่เคยได้ขั้นห้า ขั้นหก ไปเป็นขั้นเจ็ด ขั้นแปดเสียอีกนะ บางคนเป็นอย่างนั้นนะ
เพราะอะไร เพราะว่ารู้แล้วนะว่าเคยผ่านมาอย่างไร แล้วก็ตัดความหลงตัวแบบผิดๆไปนะ ในคราวก่อนนี่ ถึงขั้นห้า ขั้นหกนี่ ชอบไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเขาว่า นี่ฉันขั้นห้า ฉันขั้นหกแล้วนะ ฉันสามารถให้คำแนะนำกับขั้นสอง ขั้นสามได้นะ ฉันมีคำชมจากครูบาอาจารย์มาแค่นั้น แค่นี้นะ นี่มันจะสลัดทิ้งไป เพราะว่ากลับไปเริ่มต้นใหม่ มันมีความรู้สึกเหมือนกับ เออ เราไม่ได้มีอะไรน่าชมเชยเลย เราไม่น่า เราไม่มีอะไรที่น่าประมาทเลย นี่ข้
๑.๑๖๐ การเจริญสติเพื่อบรรเทาทุกข์จากความเจ็บป่วย
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๕ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
ดังตฤณ:
ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรนะครับ ถ้าหากเจริญสติมาถูกทาง ในการรู้กาย ในการรู้จิต ก็จะสามารถที่จะทุเลาจากทุกขเวทนา ทางกาย ทางใจ ได้ทั้งสิ้น ถ้าหากว่าเจริญสติมาจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิมีความสุข มีปีติทางใจ ร่างกายจะหลั่งสารดีๆออกมา แล้วก็จะทำให้ทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ มีความรู้สึกเหมือนกับว่าค่อยยังชั่วขึ้นนะ
อย่างพวกข้อเข่าเสื่อม หรืออะไรต่อมิอะไรต่างๆนี่ ถ้าหากว่ากล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย แล้วก็มีเอ็นโดรฟินหลั่งออกมาบ้างนี่ ก็จะรู้สึกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมันเหมือนกับอย่างน้อยที่สุดนะ เราฉีดสารมอร์ฟีนเข้าไปอย่างนี้นะครับ ที่ทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่ว่ามันไม่ใช่สารจากภายนอก แต่เป็นการหลั่งสารจากภายในออกมานะครับ นี่เป็นคุณของสมาธิ
ลักษณะของการเห็นว่าความฟุ้งซ่านเบาบางลง
นั่นแหละมันเริ่มทำให้เกิดปัญญา!
เห็นว่าความฟุ้งซ่านแยกเป็นต่างหาก ไม่เกี่ยวกับจิต
ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาก็ได้
ที่มันเกิดขึ้นแล้วมันจะต้องหายไป
เกิดขึ้นโดยไม่เชื้อเชิญ
แล้วก็หายไปโดยไม่ต้องไปผลักไส ไม่ต้องไปขับไล่อะไรทั้งสิ้น
แค่ดูอยู่เฉยๆความฟุ้งซ่านก็หายไปให้เห็น
ด้วยความเคยชินที่จะเจริญสติ
ด้วยการที่เรามีความนิ่งพอจะเป็นสมาธินี่
มันมีคุณประโยชน์
ทำให้โรคร้ายต่างๆนี่ทุเลาเบาบาง
หรือว่าดีขึ้นได้อย่างเห็นชัดเลยนะครับ
สมาธินี่สามารถช่วยรักษาโรค
บางโรคนี้หมอทึ่งเลย หายขาด
บางโรคนี่คือไม่หายขาด แต่ก็ทุเลาลง
บางโรคนอกจากทุเลาลงแล้ว
มันยังเกิดมีความรู้สึกเหมือนกับมีความแข็งแรง
มีความเข้มแข็งอะไรเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยนะครับ
นอกจากในเรื่องของการเจริญสติแล้ว
ก็อยากแนะนำด้วยเกี่ยวกับ
การบริหารร่างกายให้มีความแข็งแรงอยู่เรื่อยๆ
แล้วก็เวลาที่ความทุกข์เกิดขึ้น
ถ้ามันทุกข์หนักเกินไป
เกินกำลังสติที่จะดูความทุกข์
ก็อย่าเพิ่งไปดู
ก็ใช้ยา ใช้อะไรไป
ตามคำแนะนำของใครต่อใครที่เขาให้เรามา
๑.๑๕๙ ควรรู้ลม รู้กาย หรือรู้อารมณ์ดี?
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/hgvMXRCw8Yw
ดังตฤณ :
๑.๑๕๔ ทราบอย่างไร ว่าใครคือพระอริยบุคคล?
ถาม : อยากทราบว่าการได้ญาณต่างๆ เช่น ญาณ ๓ ญาณ ๑๖ รวมไปถึงอริยบุคคลต่างๆจะเป็นโสดาบันก็ดี สกทาคามีก็ดี อนาคามีก็ดีและพระอรหันต์ เราใช้สิ่งใดในการวัดและบ่งชี้? และเราสามารถรู้ได้หรือไม่ว่า พระรูปใดเป็นพระอรหันต์?
การที่เราจะทราบได้ว่าใครเป็นใครนี่ ดูได้จากภายนอกนะครับ เวลาที่เราเห็นพระอยู่ในสมณสารูปดี สงบสำรวมดี แล้วก็มีความผ่องใสอันนั้น ก็เป็นความประทับใจในเบื้องต้น ที่เราสามารถบอกได้คร่าวๆว่า พระรูปนี้น่าจะมีความสงบ พระรูปนี้น่าจะมีความผ่องใส คือความสงบกับความผ่องใสบางทีมันไม่ได้มาด้วยกันนะครับ เพราะถ้าสงบแล้วบางทีอึดอัดก็มี เคร่งเครียดก็มี หรือว่าฝืนทนห้ามใจ แบบเหมือนกับมีความรู้สึกจุกอกอยู่ก็มีนะครับ แต่ถ้าหากว่าสงบด้วยผ่องใสด้วยยิ้มแย้มแจ่มใส และเห็นกี่ทีกี่ทีกี่ปีผ่านไป ก็ยังมีความผ่องใสอยู่อย่างนั้น อันนั้นเราก็คงจะยังไม่ต้องไปรู้หรอกว่า ท่านได้ขั้นไหนแต่ว่า เราบอกได้อย่างหนึ่งว่า ท่านเป็นของจริง เพราะของจริงจะไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ ไม่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
แล้วก็อริยบุคคลในพุทธศาสนาก็จะมีความผ่องใสแบบหนึ่งที่เราจะจำได้ เราจะรู้สึกถึงความโปร่ง เราจะรู้สึกถึงความเบา เราจะรู้สึกถึงความสบายใจเมื่ออยู่ใกล้ แล้วก็จะมีเหตุการณ์จะมีสถานการณ์ยั่วยุแค่ไหน ท่านก็จะไม่แสดงออกถึง ความสูงบ้าง ต่ำบ้าง หน้าหมองบ้าง หน้าใสบ้างอะไรแบบนี้
ในพระคัมภีร์นะครับ ท่านจะระบุไว้ว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีขนตกอย่างยิ่งหมายความว่า คือไม่มีอะไรขนลุกขนชันขึ้นมาได้อีก ไม่มีการตื่นตระหนก ไม่มีอาการหวาดกลัว เพราะว่าจิตของท่านเป็นอิสระมีความพ้นไปจากอุปาทานแล้วว่ากายใจนี้เป็นตัวเป็นตน แล้วก็สิ่งที่เนื่องด้วยกายใจนี้ สภาวะแวดล้อมทั้งหลายที่เข้ามากระทบกระทั่งนะครับ ก็ไม่ใช่เป็นอะไรที่เกี่ยวเนื่องด้วยตัวตนเช่นกัน ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเหตุปัจจัย ประชุมรวมกันหลอกเป็นครั้งๆว่าเกิดอะไรขึ้น แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวตนเลยสักอย่าง ถ้าหากว่าเป็นพระอรหันต์จริง จิตท่านพ้นไป
ส่วนพระอนาคามีก็จะดูยากขึ้นนิดนึง เพราะบางทีท่านก็ยังมีตัวตนอยู่ คือถึงแม้ว่าจะไม่มีราคะแล้ว จะไม่มีโทสะ คือไม่มีการกระทบกระทั่งทางใจ ไม่มีอาการเป็นฟืนเป็นไฟทางจิตใจขึ้นมา แต่ท่านก็ยังมีความรู้สึกในตัวตน ยังมีทิฐิมานะ ยังมีความรู้สึกนั่นเขานี่เรา เทียบเคียงกัน เปรียบเทียบกันอยู่นะครับ อาจจะมีความห่วงเรื่องของตัวตนได้ ส่วนพระโสดาบันกับพระสกทาคามี จะดูยาก เพราะว่าท่านยังมีราคะโทสะโมหะครบ เหมือนกับคนธรรมดาทั้งหลายนะครับ
ถ้าหากว่าเราจะไปเปรียบเทียบดูว่าพระอริยบุคคลมีความแตกต่างกับปุถุชนอย่างไร มันมีวิธีเดียวที่จะเป็นไปได้ก็คือเราต้องเข้าใจว่าสภาวะจิตแบบพระโสดาบันหรือ พระสกทาคามีเป็นอย่างไรก่อนนะครับ แล้วกระแสแบบเดียวกันกับที่เราเข้าไปถึงนี่ เราถึงจะไปเทียบวัดเทียบเคียงว่าคนโน้นคนนี้น่าจะใช่ได้หรือเปล่า แต่ถ้าหากว่าเราสนใจแค่ภายในของตัวเราอย่างเดียวคือ มีการบรรลุโสดาหรือว่าบรรลุสกทาคาโดยไม่สนใจจิตของคนอื่น หรือว่าสภาวะของคนอื่นเลย ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
ดังนั้นสรุปก็คือ ถ้าจะเอาแค่เป็นบุคคลธรรมดา ต่อให้มีความรู้มีการศึกษาว่าญาณขั้นนั้นขั้นนี้ หมายความว่าอย่างไร เข้าถึงกันท่าไหนอะไรต่างๆไม่มีประโยชน์เลย คือมันไม่มีกระแสให้เกิดความหมายรู้หมายจำได้ว่ากระแสแบบนั้นๆ กระแสแบบหนึ่งๆนี่ เป็นกระแสแบบปุถุชนธรรมดาหรือกระแสของกัลยาณชนที่เริ่มปฏิบัติเจริญสติมา หรือเป็นกระแสของท่านผู้เข้าถึงพระนิพพานได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์แล้ว มันไม่มีทางทราบได้เลยนะครับ
แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ จะญาณ ๓ ญาณ ๑๖ อะไรต่างๆนี่นะครับ เป็นเรื่องที่มีการบัญญัติขึ้นในชั้นหลังนะครับ จริงๆแล้วต้นเขามาจากปฏิสัมภิทามรรค อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ ลองไปดูนะครับ ญาณมีเยอะกว่านั้นเยอะนะครับ ท่านลำดับชัดเจนว่าแม้แต่การที่เรามีปัญญาอันเกิดจากการฟัง หรือมีปัญญาอันเกิดจากการใช้จินตนาการ ครุ่นคิดหรือว่านึกถึงสิ่งที่พระท่านสอน อย่างนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นญาณชนิดหนึ่งได้
แล้วญาณที่ท่านบัญญัติไว้ในปฏิสัมภิทามรรคนี่ ไม่มีการเรียงลำดับนะครับ มีแต่ว่าจะบอกว่าญาณประเภทใดที่จะมีนิยามตามที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้แบบไหน หรือว่าญาณแบบไหนที่เป็นญาณเฉพาะสำหรับพระพุทธเจ้า ก็จะมีการแบ่งแยกไว้ชัดเจนนะครับ คือจะไม่มีการเรียงลำดับกัน
แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ เป็นเหมือนกับลำดับแบบคร่าวๆหลักๆนะครับว่า ถ้าหากว่ามีทุกข์แล้ว ตัวทุกข์นั้นมันจะนำไปสู่การเหมือนกับว่าหาทางออก แล้วที่นี้ถ้าหากว่าพบพระพุทธศาสนา ก็จะเกิดศรัทธามีการเพียรพยายามเพื่อให้พ้นทุกข์ แล้วถ้าหากว่าเกิดศรัทธาแล้วก็นำไปสู่การถือศีล การถือศีลนำไปสู่การที่มีสมาธิคือหมายความว่า ศีลเป็นเหตุให้มีความสามารถในการที่จะทำให้จิตตั้งมั่น แล้วความที่จิตตั้งมั่นนั้นก็จะเป็นความสามารถเห็นอะไรได้ตามจริง เพราะว่าเห็นตามจริงก็เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีนะครับ แล้วก็นำไปสู่การเข้าถึงวิมุตคือความหลุดพ้นในที่สุดนะครับ
ลักษณะการบอกตามลำดับอย่างนี้ คือมันชัดเจนและเข้าใจได้จริง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ถ้ามีสติถ้ามีสัมปชัญญะนะครับ รู้เห็นตามจริงว่ากายนี้ใจนี้มันไม่เที่ยง มันก็เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีขึ้นมา แหนงหน่ายอะไร? คลายความยินดีจากอะไร? ก็จากกายจากใจนี้แหละ แล้วท่านให้ปฏิบัติมาเรียงตามลำดับเลยจากหยาบถึงไปถึงประณีตนะครับ ก็เริ่มต้นนับตั้งแต่ลมหายใจที่ดูง่ายๆ อิริยาบถ แล้วก็มาถึงความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ อึดอัดสบายหรือว่าจิตมันสงบหรือว่าฟุ้งซ่านอยู่ ท่านบอกมาตามลำดับแล้วปฏิบัติตามได้จริง
อันนี้ถ้าเรามีการย้อนกลับไปศึกษานะครับ แล้วก็ไม่มาครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องญาณขั้นนั้นขั้นนี้ไปถึงขั้นไหนแล้ว เรียงลำดับกันอย่างไรนะครับ บางทีก็มานั่งเถียงกันอยู่นั้นแหละนะครับว่า ญาณชื่อนั้นชื่อนี้นี่จะต้องมีสภาพเป็นอย่างไร ประสบการณ์ตรงจะทำให้รู้สึกกันท่าไหน บางทีก็ถึงขั้นที่ไปโมเมสรุปเลยนะว่า ถ้าได้วิปัสสนาญาณจริงนี่จะต้องระลึกชาติได้ก่อน แค่ญาณขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ อะไรก็สามารถระลึกชาติได้แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสไว้อย่างนั้นเลยนะครับ วิปัสสนาญาณไม่เกี่ยวกับการระลึกชาติ แต่ถ้าหากว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนาไปนี่ มีความรู้ความเห็นลึกซึ้งเข้าไปรูป เรื่องของรูปเรื่องของนามจริงๆนะครับ แล้วก็มีสมาธิขั้นสูงสามารถจะต่อยอดเป็นอภิญญาระลึกชาติได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าได้ญาณขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วหมายความว่าจะระลึกชาติได้ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้นะครับ ถ้าหากว่าศึกษาย้อนกลับไปศึกษาในพระไตรปิฎกจริงๆจะพบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้เช่นนั้นเลยนะครับ
ก็อยากจะสรุปว่า ในการศึกษาเรื่องแม้แต่ขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธินี่ แต่ก่อนผมก็สนใจมากเลยนะว่าผมถึงขั้นไหนแล้ว แล้วก็ฟุ้งซ่าน วนเวียนอยู่แต่กับว่าเรื่องถึงขั้นไหน ถึงขั้นไหนนั่นแหละ จนกระทั่งจิตไม่เป็นอันจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ควรจะจดจ่อ ไปหมกมุ่นครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องของขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วก็เดี๋ยววางแผนเลยว่าพรุ่งนี้จะให้ได้ถึงขั้นไหนนะครับ มันกลายเป็นความฟุ้งซ่านไปในการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การที่เราจะมาจูนจิตให้ตรงกับความจริง สามารถยอมรับความจริง สามารถเห็นความจริง และเกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีไปได้ เอาล่ะก็พูดยาวนิดหนึ่ง